HomeAbout usNewsPaperPresentationLibraryGraduate School at KU
 
 
 
ออกภาคสนามสำรวจการพิบัติของลาดดินบริเวณลุ่มน้ำสะท้อ อ.ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย
 
1. สภาพทั่วไปของลุ่มน้ำสะท้อ>
ลุ่มน้ำสะท้อ อยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่สิน-ป่าแม่สาน - ป่าแม่สูงฝั่งซ้าย อยู่ใน ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ระวางแผนที่ 4944 III, 4944 II, 4844 I, 4844 II อยู่ในเขตความรับผิดชอบหน่วยจัดการต้นน้ำผาเวียง (ตั้งอยู่ที่พิกัด 612601 ห่างจากอำเภอศรีสัชนาลัย 40 กิโลเมตร จากจังหวัดสุโขทัย 108 กิโลเมตร ) พื้นที่ทั้งลุ่มน้ำมีเนื้อที่ประมาณ 154,407.29 ไร่ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 42,038.61 ไร่ มีผู้อยู่อาศัยกระจายตลอดลำน้ำ
 
2. ลักษณะพื้นที่
   สภาพพื้นที่เป็นเนินเขาเตี้ยๆ แนวเขาทอดยาวจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก มีความลาดชันตามลาดเขามากกว่า 35% โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200-800 เมตร ลักษณะของดินเป็นดินเหนียว และดินเหนียวลูกรัง มีการพังทลายของหน้าดินปานกลาง
   สภาพป่าไม้เป็นป่าเสื่อมโทรมมาก พื้นที่ที่เป็นป่าสมบูรณ์ส่วนมากขึ้นอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ศรีสัชนาลัยและบริเวณริมห้วย บริเวนสันเขาพบปริมาณน้อย พื้นที่การเกษตรจะพบมากบริเวณริมห้วยสะท้อ
   ห้วยสะท้อเป็นลำห้วยหลัก มีห้วยผาเวียงและห้วยแม่ทางเป็นลำห้วยสาขา มีหมู่บ้านตั้งอยู่ตั้งแต่ต้นลำห้วยถึงปลายลำห้วย 7 หมู่บ้าน คือ บ้านโป่งตีนตั่ง บ้านปางพริกแด้ บ้านปางตะเคียน บ้านปางสา บ้านผาเวียง บ้านยางตอย บ้านวังถ้ำ บ้านแม่ทาง บ้านโป่งวัว บ้านเกาะผาเหล็ก บ้านวังหม้อ มีน้ำไหลตลอดปี ลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่จัดอยู่ในภูมิอากาศประเภทฝนเมืองร้อน ซึ่งมีช่วงฝนตกสลับฝนแล้งแตกต่างกันอย่างชัดเจน ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 1,122.5 มม./ ปี อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37.7 ซ ต่ำสุด 17.7 ซ เฉลี่ยต่อปี 27.7 ซ ความชื้นสัมพัทธ์ 73.2 ซ ปริมาณการระเหยของน้ำ 5.3 ความเร็วลม 1.9 กม./ชม. ในรอบปีแบ่งได้ 3 ฤดู ดังนี้
   ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม โดยเดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุด
   ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในเดือนกันยายน
   ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัดในเดือนธันวาคม – ต้นเดือนมกราคม
   ป่าไม้ในพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณ ซึ่งเป็นป่าผลัดใบค่อนข้างโปร่ง โดยจะผลัดใบในฤดูแล้ง และแตกใบใหม่ในฤดูฝน การผลัดใบจะไม่พร้อมกัน พบทั้งประเภทที่มีต้นสัก และไม่มีต้นสักปะปน ชนิดไม้ที่พบ ได้แก่ คอแลน แต้ว กระท้อนป่า มะกอม ไม้เหม็น ตีนเป็ด แคหางค่าง เพกา ตะแบก ก้างปลา รัก ส้าน มะหาด แดง มะค่าโมง เป็นต้น ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ไม้ไผ่เฮี้ย หญ้าดอกไม้กวาด หญ้าคา ซึ่งขึ้นปกคลุมหนาแน่นมาก
 
3. ปัญหาและสาเหตุที่ทำให้เกิดการพิบัติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดการพิบัติของลาดดินเนื่องจากสภาพป่าต้นน้ำเสื่อมโทรมมาก อยู่ใน “สภาวะวิกฤติ” จนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำ ที่มีพื้นที่ป่าสมบูรณ์ ประมาณ 60,625 ไร่ ป่าเสียหายอย่างรุนแรง ประมาณ 33,782 ไร่ ค่อนข้างเสียหายประมาณ 30,000 ไร่ ป่าคุณภาพชั้นลุ่มน้ำที่ 4 และป่ากันออกที่ทำกินชุมชนประมาณ 30,000 ไร่ ไฟป่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้สภาพป่าเสียหายอย่างรุนแรง อยู่ในสภาวะวิกฤติ โดยเฉพาะป่าที่สมบูรณ์และป่าค่อนข้างเสียหายรวมกันประมาณ 90,625 ไร่ จะกลายสภาพเป็นป่าเสียหายอย่างรุนแรงมากในอีก 2-3 ปี ข้างหน้าอย่างแน่นอน ถ้าหากไม่สามารถป้องกันไฟป่าได้ไฟป่ามีสาเหตุสำคัญเกิดจาก การเผาไร่ของเกษตรกรแล้วลุกลามเข้าป่าธรรมชาติ การล่าสัตว์ การเก็บหาของป่าและสาเหตุอื่น ๆ
การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้อย่างถาวร ซึ่งมีสาเหตุต่างๆ ดังนี้
- การเพิ่มของประชากรทำให้ต้องการที่ทำกินและที่อยู่อาศัยมากขึ้นการเคลื่อนย้ายของประชากรตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ขาดมาตรการควบคุม โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ป่า การพัฒนาของภาครัฐ ไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เช่น กรมป่าไม้ทำหน้าที่ป้องกันรักษาป่า ปลูกป่าฟื้นฟูสภาพป่าไม้ แต่ก็มีหน่วยงานภาครัฐบางหน่วยเข้าไปส่งเสริมการเพาะปลูกในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หรือ พัฒนาระบบสาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า ระบบชลประทาน เพื่อให้ชุมชนสามารถอาศัยอยู่ในป่าสงวนได้อย่างถาวร จนเกิดขีดความสมารถของเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ โดยเฉพาะการก่อสร้างถนนทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าอย่างรวดเร็ว
- ขาดมาตรการทางกฎหมายและการแสดงแนวขอบเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่ชัดเจน ขาดการพัฒนาข้อมูล ระบบเครือข่ายข้อมูล การบริการข้อมูลที่เป้นมาตรฐานเพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม่ที่เหมาะสม
- ชุมชนขาดจิตสำนึกในการอยนุรักษ์ ขาดความเป็นเจ้าของ ขาดผู้นำ ไม่มีความรู้ไม่เห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ
- การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่า เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในเชิงพาณิชย์ ทำให้มีการทำลายพื้นที่ป่าไม้เป็นแปลงใหญ่โดยนายทุน และผู้มีอิทธิพล การทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาลีซอ
 
4. ความเสียหายที่เกิดขึ้น
     วันที่ 2-3 พฤษภาคม 2544 มีฝนตกหนักบริเวณอำเภอวังชิ้นและอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านตั้งแต่เขื่อนภูมิพล อำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปางและอำเภอวังชิ้นจังหวัดแพร่ โดยมีปริมาณฝนสูงสุดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ดังนั้นจึงมีผลให้เกิดฝนตกหนักเป็นเวลานาน ทำให้ดินบนลาดเขาไม่สามารถดูดซึมน้ำได้ทั้งหมดจึงเกิดการไหลลงมาตามลาดเขาพร้อมกับน้ำฝนที่ตกลงมา ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์มากมาย สำหรับลุ่มน้ำสะท้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย จะเกิดภัยพิบัติในเวลาเดียวกับ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่โดยตั้งอยู่บนเทือกเขาศรีสัชนาลัยเหมือนกันแต่คนละฝั่งเขา
 
ความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณ ตำบลแม่สิน
 
5. แนวทางการป้องกันภัย
     1. ติดตั้งลูกลอยวัดระดับน้ำ ในลำน้ำสะท้อ เพื่อส่งเสียงเตือนภัยเมื่อมีระน้ำสูงกว่าเกณฑ์ที่ประเมิน และมีการติดตั้งเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ
     2. การประยุกต์ใช้ระบบ GIS มาจัดทำแบบจำลองพื้นที่ เพื่อคำนวนหาปริมาณน้ำฝนร่วมกับ meteorological model ร่วมกับ Hydrological & Hydraulic model ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นพลวัต การสร้างแบบจำลองน้ำท่วม
     3. จัดทำ flood hazard และ flood risk map & model เพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ของการคาดการณ์ เพื่อเฝ้าระวังและการเตือนภัย
     4. การสำรวจและเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในภาคสนามเพื่อปรับแก้แบบจำลองให้ถูกต้องมากขึ้น
     5. การเตรียมการด้านการอพยพโยกย้าย คน สัตว์และสิ่งของ ขณะเกิดภัยน้ำท่วม
     6. การเตรียมความพร้อมในการป้องกันทางกายภาพ เช่นการสร้างแนวกั้นน้ำท่วม
     7. สร้างจิตสำนึกของประชาชนในพื้นที่โดยการจัดทำโครงการรัฐได้ป่า ประชาได้อาหาร เพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ของพื้นที่ต้นน้ำลำธาร
Prev...This page..Next...